เมนู

เพราะเบื่อหน่าย เพราะคลายกำหนัด เพราะดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไซร้ ควรจะเรียกว่า ภิกษุผู้ได้บรรลุ
นิพพานในปัจจุบัน.

จบ ธรรมกถิกสูตรที่ 2

อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ 2



ในธรรมกถิกสูตรที่ 2 พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสการวิสัชนา
คำถามทั้ง 3 ไว้ 3 ข้อ.
จบ อรรถกถาธรรมกถิกสูตรที่ 2

5. พันธนสูตร



ว่าด้วยเครื่องจองจำ คือขันธ์ 5



[304] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้
สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ไม่ได้รับแนะนำ
ในสัปปุริสธรรม ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตา เห็นอัตตาว่า
มีรูป เห็นรูปในอัตตา หรือเห็นอัตตาในรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็นผู้ถูกเครื่องจำคือ รูป จำไว้แล้ว
เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้งภายในทั้งภายนอกจำไว้แล้ว เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งนี้
เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งโน้น ย่อมแก่ทั้ง ๆ ที่ถูกจำ ย่อมตายทั้ง ๆ ที่ถูกจำ

ย่อมไปจากโลกนี้สู่โลกหน้าทั้ง ๆ ที่ถูกจำ ย่อมตามเห็นเวทนา... ตาม
เห็นสัญญา... ตามเห็นสังขาร... ตามเห็นวิญญาณ โดยความเป็นอัตตา
เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในอัตตา หรือเห็นอัตตาในวิญญาณ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้ว เป็นผู้ถูกเครื่องจำ
คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จำไว้แล้ว เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้ง
ภายในทั้งภายนอกจำไว้แล้ว เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งนี้ เป็นผู้มองไม่เห็น
ฝั่งโน้น ย่อมแก่ทั้ง ๆ ที่ถูกจำ ย่อมตายทั้ง ๆ ที่ถูกจำ ย่อมไปจากโลกนี้สู่
โลกหน้าทั้ง ๆ ที่ถูกจำ.
[305 ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว
ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูป โดยความเป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีรูป
ไม่เห็นรูปในอัตตา หรือไม่เห็นอัตตาในรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เรียกว่าอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำ คือ รูปจำไว้แล้ว
ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้งภายในภายนอกจำไว้ เป็นผู้มองเห็นฝั่งนี้
เป็นผู้มองเห็นฝั่งโน้น เราตถาคตกล่าวว่า ภิกษุนั้นพ้นแล้วจากทุกข์
ย่อมไม่พิจารณาเห็นเวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ โดยความ
เป็นอัตตา ไม่เห็นอัตตาว่ามีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในอัตตา ไม่เห็น
อัตตาในวิญญาณ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า อริยสาวก ผู้ได้สดับ
แล้ว ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำ คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จำไว้
ไม่เป็นผู้ถูกเครื่องจำทั้งภายในภายนอกจำไว้ เป็นผู้มองเห็นฝั่งนี้ เป็น
ผู้มองเห็นฝั่งโน้น เราตถาคตกล่าวว่า ภิกษุนั้นพ้นแล้วจากทุกข์.
จบ พันธนสูตรที่ 5

อรรถกถาพันธนสูตรที่ 5



พึงทราบวินิจฉัยในพันธนสูตรที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อตีรทฺสสี ความว่า วัฏฏะ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ฝั่ง (ใน) ปุถุชนมองไม่เห็นฝั่งนั้น.
บทว่า อปารทสฺสี ความว่า นิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสเรียกว่า ฝั่ง (นอก) ปุถุชนมองไม่เห็นฝั่งนั้น.
บทว่า พนฺโธ ความว่า (ปุถุชน) เป็นผู้ถูกผูกด้วยกิเลส จึง
เกิด แก่ ตาย และจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวัฏฏทุกข์ไว้ในสูตรนี้แล.
จบ อรรถกถาพันธนสูตรที่ 5

6. ปริมุจจิตสูตรที่ 1



ว่าด้วยการพิจารณาเห็นขันธ์ 5 เพื่อความหลุดพ้น



[306] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย
จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? เธอทั้งหลายย่อมพิจารณาเห็นรูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็น
อัตตาของเรา ดังนี้หรือ ?
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า หามิได้พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึง
พิจารณาเห็นรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนั้น ด้วยปัญญาอันชอบ
ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นมิใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่